Pedigree Center | เพดดีกรีเซ็นเตอร์
     
 

 
 
 
PedigreeCenter PedigreeCenter PedigreeCenter PedigreeCenter PedigreeCenter

รหัส:
  7100303
 เกิดจากใบผสมเลขที่: -
ชื่อ:
  ฟอลคอน (เหยี่ยวถลาลม) (7100303)
วันเกิด:
  -
อายุ:
  -
เพศ:
  ผู้
สี:
  ขาว
พิกัด :
 
สายพันธุ์:
  อินดูบราซิล
อ้างอิง:
  7100303
รายละเอียด:
   เรื่องราวของฟอลคอน สุดยอดพ่อพันธุ์ในดวงใจ เรื่องราวต่อไปนี้เป็นเรื่องผมได้รับข้อมูลจากชาววัวของประเทศบราซิลมาตั้งแต่ปี 2006 แต่เก็บเอาไว้ไม่ได้เอาออกมาปัดฝุ่นใช้เพราะคิดว่าเป็นข้อมูลที่บรรจุเอาไว้ด้วยข้อมูลทางวิชาการมากมาย ภายหลังจึงเอาออกมาแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย แล้วส่งต่อทั้งหมดไปให้กับคุณทิชา สายัณท์ปทุม เพราะเคยรับปากว่าจะพยายามแปลเอกสารที่ผมมี เพื่อช่วยกันให้ข้อมูลแก่พี่น้องชาววัว หลังจากผมต้องเผชิญกับมรสุมของชีวิตทั้งเรื่องงานที่หนักหนาสาหัสกลับบ้านดึกหรือกลับเช้าเพื่ออาบน้ำแล้วกลับไปทำงาน บางครั้งขับรถกลับบ้านแล้วหลับในเพราะเหนื่อยโชคดีที่มีเพื่อนร่วมทางที่ดีคอยบีบแตรเตือน อีกเรื่องงหนึ่งคือสุขภาพของภรรยาที่บังเอิญเป็นไข้เลือดออกต้องย้ายตัวเองไปนอนอยู่ที่โรงพยาบาลหลายวันด้วยเหตุผลที่เธอบอกว่า ต้องนอนที่โรงพยาบาลเพราะผมไม่ค่อยมีเวลาดูแล ถึงผมจะไม่ใช่สามีที่ดูแลภรรยาได้ดีเวลาที่ป่วยแต่เธอบอกว่าไม่มีใครสมบูรณ์เต็มร้อยและผมคงดูแลคนป่วยสู้พยาบาลมืออาชีพซึ่งเก่งกว่าไม่ได้ และที่สำคัญเธอบอกว่าไม่อยากให้ผมเป็นกังวลสองเรื่องในเวลาเดียวกัน ระหว่างนั่งรอข้อมูลต่างๆ ด้วยความร้อนใจผมเอาข้อมูลเก่าๆ ที่ได้รับมานานแล้วเพียงแต่ไม่ได้สนใจเพราะไม่รู้ว่าจะคุยกับใครรู้เรื่องเนื่องจากเป็นภาษาโปรตุกีสทั้งหมด หลังจากใช้เวลาแปรและขอให้ทางบราซิลช่วยแปรให้ด้วยผมก็ได้ข้อมูลมาพอสมควรจึงอยากถ่ายทอดออกไปเพราะกลัวว่าหากเก็บไว้นานๆ เนื้อที่ของสมองจะเต็มและลืมข้อมูลเหล่านี้ไป ผมขอพาท่านผู้อ่านไปยัง รัฐโกเอียเนีย (GOIANIA) รัฐนี้เป็นที่ตั้งของเมืองหลวงชื่อบราซิเลีย (BRASILIA) อยู่ทางตอนเหนือของรัฐมินาส เจเรียส (MINAS GERIAS) ที่รัฐโกเอียเนียเป็นที่ตั้งของฟาร์มอินดูบราซิลแดงฟาร์มหนึ่งซึ่งคนไทยไม่ค่อยจะรู้จักเนื่องจากในยุคที่เราเข้าไปเสาะแสวงหาวัวอินดูบราซิลที่นั่นสายตาของเรามองเห็นแต่วัวขาวและเทา วัวอินดูบราซิลแดงจึงเป็นแค่ของโชว็ที่เขาเอามาให้ดูแต่เรามองข้ามไป ฟาร์มที่ว่านี้คือ ฟาร์มอาร์คา เดอ นู (FAZENDA ARCA DE NOE) อยู่ที่เมืองไฮโดรแลนเดีย (HIDROLANDIA) วัวพ่อพันธุ์ที่มีชื่อเสียงของฟาร์มนี้คือ ฟูเลียโอหรือฟูลิเอา (FULIAO LM RGD: 2316) พ่อพันธุ์ตัวนี้เกิดเมื่อ 13/12/1977 เป็นลูกของ บิลเยาที่สอง (BILHAO II RGD: 2266) กับ เบรทันย่า (BRETANHA LM RGD: F0361) แดงทั้งตระกูลไม่มีขาวปน บิลเยาที่สอง เกิดเมื่อ 15/07/1973 (ก่อนผมสามเดือน) เป็นลูกของอิตมาราติ (ITMARATI RGD: 2183) กับ เนบราสก้า (NEBASKA RGD: B0840) ฟูเลียโอตัวนี้เป็นหนึ่งในวัวต้นแบบในการพัฒนาวัวอินดูบราซิลสีแดง (INDUBRASIL VERMELHO) ในระยะแรกของการพัฒนาวัวอินดูบราซิลนั้นพวกเขาพัฒนาให้เป็นวัวสีเทาและขาวก่อน ภายหลังจึงมีการพัฒนาวัวแดงออกมา ทางเลือกและสายพันธุกรรมจึงมีน้อยกว่าสีเทาและขาว วัวอินดูบราซิลแดงนั้นมีจุดเด่นตรงที่มีกล้ามเนื้อที่สวยงามชัดเจน ลำตัวหนา ลึก และยาว ซึ่งเป็นลักษณะที่เป็นที่ปรารถนาของชาววัวทั่วโลก น่าเสียคนไทยไปที่บราซิลแล้วไม่เอาเหล่ากอของวัวที่มีลักษณะนี้เข้ามาเลยหรือเพราะตอนนั้นวัวตัวนี้มันมีสีแดง ที่รัฐโกเอียเนียนี้ยังเป็นที่ตั้งของฟาร์มที่คนไทยรู้จักกันดี เพราะมีสุดยอดวัวอินดูบราซิลเข้ามาจากฟาร์มนี้แล้วมีชื่อเสียงหลายตัว ฟาร์มที่ว่านี้คือฟาร์มซานตา เฟ่ (FAZENDA SANTA FE) วัวที่มาจากฟาร์มนี้ดังมากอันดับต้นๆ ของเมืองไทย เช่น ฉลุยหรือไฮโดร ดา ซานตา เฟ่ (HYDRO DA SANTA FE RGN: 96) ฟอลคอน ดา ซานตา เฟ่ (FALCON DA SANTA FE RGN: 68 RGD: A0666) แฟนตาเซีย ดา ซานตา เฟ่ (FANTASIA DA SANTA FE RGN: 13 RGD: H6217) ฉลุยนั้นเข้ามาตั้งแต่ยังไม่อดนมจึงยังไม่ได้ทำบัตรประชาชนวัว สำหรับฟอลคอน (เหยี่ยวถลาลม) เกิดเมื่อวันที่ 29/12/1986 ที่ฟาร์มซานตา เฟ่ (FAZENDA SANTA FE) เมืองโกเอียนิร่า (GOIANIRA) ฟาร์มนี้มีวัวอินดูบราซิลไม่มากแต่สวยๆ ถูกตาคนไทยจนเอาเข้ามาเกือบหมด เมื่อเข้ามาเกือบหมดก็เกิดปัญหาเพราะทางฟาร์มเองก็ต้องอยู่ต่อไปแต่วัวที่จะใช้เป็นเหล่ากอต่อไปแทบไม่เหลือ ปัญหาเลยมาตกลงที่ฟอลคอน เพราะหลังจากตกลงขายให้คนไทยแล้ววัวที่จะใช้ทำพ่อพันธุ์ของฟาร์มในอนาคตก็หมดไปด้วย เขาเลยต้องดึงเรื่องเอาไว้ไม่ส่งมาให้คนไทย โดยอ้างว่าวัวตัวนี้ตรวจโรคไม่ผ่านส่งมาให้ไม่ได้ เหลี่ยมคนบราซิลก็มีไม่น้อย แต่เหลี่ยมคนไทยก็ไม่ธรรมดา ลงทุนบินไปดูว่ามันจริงหรือเปล่า แล้วเขาก็เฉลยว่าเสียดายวัวตัวนี้เหล่ากอเชื้อสายดีและเริ่มมีผลงานที่มีลักษณะที่ดีอย่างที่เขาต้องการถ้าขายออกไปแล้วจะไม่เหลือวัวไว้ทำพันธุ์ แต่หมอประสิทธิ์ก็ยังคงใจแข็งเหมือนครั้งที่มีคนบราซิลมาขอซื้อคอบร้าคืน ผลผลิตคุณภาพอย่างหนึ่งของฟอลคอนที่ฟาร์มซานตา เฟ่ แห่งนี้ชื่อ จาเด หรือ เจด (JADE DA SANTA FE RGD: A0659) เกิดเมื่อ 25/08/1990 จากสุดยอดแม่พันธุ์ตัวหนึ่งของฟาร์มชื่อ อัลทีซ่า (ALTEZA RGD: F2588) วัวแม่พันธุ์ตัวนี้เป็นลูกของพ่อพันธุ์ประวัติศาสตร์ตัวหนึ่งของวงการอินดูบราซิล สโลแกน (SLOGAN JZ RGD: 6776) ใครอยากรู้สายพันธุกรรมของพ่อพันธุ์สโลแกนสามารถหาดูได้จากสำรองฟาร์ม เพราะมีการไล่สายเลือดให้เห็นกันจะๆ มีแจกในงานประกวดวัวที่ปราณบุรี หนังสือหลายเล่มลงบทความด้านหน้าแต่ไม่ได้ลงแผนผังพันธุกรรมที่มีอยู่ด้านหลัง ลองสอบถามดูได้คุณเหนือ (คุณสุปัญญา แพใหญ่) เผื่อว่าอาจจะเหลืออยู่ ที่อาจารย์วีระก็น่าจะมีขอสำเนาได้ สำหรับฟอลคอน(เหยี่ยวถลาลม) เป็นลูกของ ทาเลนโต้ (TALENTO DA ZEBULANDIA VR RGD: A0828) กับ แฟนตาเซีย (FANTASIA DA SANTA FE RGN: 13 RGD: H6217) ทาเลนโต้เกิดเมื่อ 29/02/1980 เป็นลูกของ คาราเวเล (CARAVELE RGD: 6346) กับ นอร์มานเดีย (NORMANDIA DA ZEBULANDIA RGD: G2020) ซึ่งทั้งหมดเป็นวัวอินดูบราซิลของฟาร์ม ชาคารา ซีบูแลนเดีย (FAZENDA CHACARA ZEBULANDIA)ของ TORRES HOMEM RODRIGUES DA CUNHA (โตฮิต) นอร์มานเดียเป็นลูกของ นิเทโรอิ (NITEROI RGD: 3554) คาราเวเลเกิดเมื่อ 15/03/1972 เป็นลูกของอินดิอาโน (INDIANO RGD: 7301) กับ เบล่า (BELA RGD: B6222) คาราเวเลเป็นพ่อวัวของฟาร์ม คาเฟซินโย่ (FAZENDA CAFEZINHO) อินดิอาโนหรืออิเดียโน เป็นวัวของฟาร์ม ดา มาควิน่า (FAZENDA DA MAQUINA) ของ อัลเบอร์ติน่า (ALBERTINA BERNARDES CASTRO) ที่เรารู้จักกันดี อินดิอาโนเกิดเมื่อ 15071966 เป็นลูกของเทรโว (TREVO 55 RGD: 3251) กับ คาริซิอาหรือคาริเซีย (CARICIA RGD: B6458) เทรโวเกิดเมื่อ 20/10/1962 เป็นวัวของ JOSE THETONIO DE CASTRO ซึ่งเป็นเจ้าของฟาร์ม 55 เดิมก่อนอัลเบอร์ติน่าและอัลด้า ผมต้องขออภัยท่านผู้อ่านมา ณ ที่นี้ด้วย เนื่องจากบทความเก่าๆ เกี่ยวกับฟอลคอนระบุ สายเลือดทางสายพ่อผิดไป เพราะผมระบุเอาไว้ว่าฟอลคอน (เหยี่ยวถลาลม) ตัวนี้เป็นลูกของทาเลนโต้ (TALENTO RGD: A1019) พ่อวัวตัวดังของฟาร์มคาปิเตา (FAZENDA CAPITAO) ซึ่งเป็นความผิดพลาดของผมเอง ที่สลับข้อมูล ของทาเลนโต้ ระหว่างทำต้นฉบับบบทความเก่าๆ บทความนี้ผมรอข้อมูลนานมากและตรวจสอบแล้วตรวจสอบอีกหลายครั้งจนแน่ใจว่าข้อมูลจากบราซิลและในเมืองไทยนั้นตรงกันและเชื่อถือได้ ก็ขอแก้ไขให้ถูกต้อง คราวนี้ถูกต้องที่สุดครับ เพราะเอามาจาก ฐานข้อมูลของ ABCZ และข้อมูลของผู้หลักผู้ใหญ่ที่คลุกคลีกับวัวมานาน ฟอลคอนในสายตาผมเป็นวัวที่สมบูรณ์แบบไม่ว่าจะมองแบบวัวงามระดับสุดยอดหรือวัวเนื้อชั้นดี หากยังคงอยู่ที่บราซิลคงติดตำนาน (THE LEGEND) เพราะนอกจากตัวของฟอลคอนเองจะมีสถิติที่ดีแล้วลูกที่ผมกล่าวถึงก็ยังมีสถิติที่ดีด้วย ที่บราซิลนอกจากเขาจะพิจารณาวัวด้วยตาแล้วเขายังมองในเรื่องของสถิติซึ่งเขาทำมาก่อนชาติใดในโลก เพราะวัวทุกสายพันธุ์เริ่มเก็บสถิติกันมาตั้งแต่ยังไม่มีการก่อตั้งสมาคมฯ ฟอลคอนนั้นมีข้อติอยู่ที่ให้ลูกกับวัวลูกผ่านไม่พุ่งเท่าไร แต่คนที่ให้ความเห็นแบบนี้ให้ความเห็นในยุคที่คนเล่นวัวงามมองวัวที่หัวกับหูเป็นหลักซึ่งมันผิดไปจากความตั้งใจของคนที่เล่นวัวอินดูบราซิลในยุคแรกเริ่มที่เห็นว่าอินดูบราซิลเป็นวัวที่มีผมตอบแทนในแง่ของเนื้อดี สูงสง่า หนา ลึก และให้เนื้อมาก ให้ลูกนิ่งไม่ผิดไปจากพ่อ ที่สำคัญคือเชื่องเพราะวัวบราห์มันรุ่นโบราณส่วนใหญ่จะดุมาก (ผมก็เคยเลี้ยงดุๆ แบบนั้น) ในปัจจุบันท่านเลี้ยงวัวอินดูบราซิลไปเพื่ออะไร ท่านคงมีคำตอบอยู่ในใจ ซึ่งก็แล้วแต่ความคิดของแต่ละคน สำหรับผมต้องอิงเนื้อและอิงงาม ทางสายกลางดีกว่า สำหรับผมฟอลคอนจึงไม่ได้มีดีแค่เคยเป็นแชมป์ชาติเคยเป็นแชมป์อีสานตัวแรก เคยเป็นพ่อพันธุ์ราคา 2.2 ล้านบาท หากท่านผู้อ่านอยากรู้ว่าทำไมในอดีตประเทศสหรัฐอเมริกาจึงนำเข้าวัวจากประเทศบราซิลมากมายเพื่อไปพัฒนาเป็นวัวบราห์มัน ลองมองดูที่ฟอลคอนท่านจะได้รับคำตอบที่ไม่ต้องไปถามใคร ใครที่ยกเอาอันดับตารงพ่อพันแม่พันธุ์ของประเทศอื่นมาอุปโลกน์เอาว่าเป็นอันดับโลกผมว่าวัวหลายๆ ตัวในเมืองไทยก็ไม่แพ้กันและอาจจะดีกว่า เพียงแต่เราเก็บสถิติและจัดอันดับแบบเขาหรือยังเท่านั้น ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะมาเริ่มกันเสียที หากไม่เริ่มวันนี้แล้วจะรอไปถึงเมื่อไหรหรือว่าจะรอไปเรื่อยๆ จนถึงคนรุ่นต่อๆ ไปซึ่งก็ไม่รู้ว่าเมื่อไร ไปเรื่อยๆ ท้ายของเนื้อที่ตามที่ได้รับโควตามา ผมขอกล่าวถึงที่เกิดผิดเวลาเป็นอย่างยิ่งคือ ธิเบต น้องของคอบร้าที่เกิดจากแม่เดียวกัน ธิเบตเป็นวัวติดท้องแม่มาราคาทัว มาจากฟาร์ม มันดิโอก้า (FAZENDA MANDIOCA) หรือฟาร์ม 71 ซึ่งเรียกตามสัญลักษณ์ของฟาร์ม ธิเบตเกิดในเมืองไทย เกิดจากพ่อ อนันดี้ (ANANDY 71 RGD: 8591) และ มาราคาทัว อนันดี้เกิดเมื่อ 07/03/1988 เป็นวัวของฟาร์ม มันดิโอก้าและเซา เซบาสเตีย (MANDIOCA E SAO SEBASTIAO) เป็นลูกของโฮโต้ (ROTOR DA ZEBULANDIA VR RGD: 7255) กับ ชูวิสก้า (CHUVISCA RGD: H9243) โฮโต้ เกิดเมื่อ 17/12/1978 เป็นลูกของสโลแกน (SLOGAN JZ RGD: 6776) กับ นาอิฟาหรือไนฟา (NAIFA DA ZEBULADIA VR RGD: G2021) ไนฟา เป็นลูกของ นิเทโรอิหรือนิเทรอย (NITEROI RGD 3554) ชูวิสก้าเป็นลูกของเมจอร์หรือเมเจอร์ (MAJOR RGD: 7690) เมจอร์เกิดเมื่อ 29/05/1981 เป็นลูกของนาโกริ (NAGORI RGD: 7916) กับ โซราอิด้าหรือโซเรียด้า (ZORAIDA RGD: F2222) ธิเบตเป็นวัวอาภัพเพราะเกิดในยุคที่ลูกๆ ของโฮโต้ดังคับฟ้าเมืองไทย ลูกวัวที่เกิดและโตในเมืองไทยส่วนใหญ่ก็อาภัพแบบนี้ ใบเกิดก็ไม่มี (ทั้งใบย่อและใบเต็ม) เพราะเจ้าของและผู้นำเข้าไม่ได้แจ้งกลับไปทางบราซิลเพื่อขอจดทะเบียนพันธุ์ประวัติ วัวที่จดกันในเมืองไทยก็ทำกันไม่ต่อเนื่องและขาดตอนไปในที่สุด ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้แตกต่างไปจากวัวอเมริกันบราห์มันที่นำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกาที่มีการส่งข้อมูลกลับไปยังสมาคมฯ ของที่นั่นเพื่อขอจดทะเบียนพันธุ์ประวัติ ทุกวันนี้จึงยังมีวัวพ่อและแม่พันธุ์ที่มีหลายเลขทะเบียนของสมาคมฯ ของสหรัฐอเมริกา ต้องขอขอบคุณคุณปรีชา เลิศไพรวัล ที่แบกภาระอันหนักหน่วงไว้ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาเพื่อรักษาสายพันธุกรรมระดับสุดยอดของวัวอเมริกันบราห์มันที่นำเข้าเอาไว้ ในวงการอินดูบราซิลก็มีหลายคนที่แบกรับภาระของชาติเอาไว้นานหลายปีแบบนี้เหมือนกัน
บรีดเดอร์:
  -
เจ้าของ:
  Reference   
ฟาร์ม:
  -
แชร์:
  



     


         
พ่อของปู่: 
     
ปู่: 
   
         
แม่ของปู่: 
 
พ่อ: 
         
         
พ่อของย่า: 
     
ย่า: 
   
         
แม่ของย่า: 
               
 
       
             
         
พ่อของตา: 
     
ตา: 
   
         
แม่ของตา
 
แม่: 
         
         
พ่อของยาย: 
     
ยาย: 
   
   
แม่ของยาย: 
 
       
 
 
PedigreeCenter PedigreeCenter PedigreeCenter PedigreeCenter PedigreeCenter